WELCOME TO BIOLOGY'S BLOG :3

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความซื่อสัตย์

     ความซื่อสัตย์ (integriry)
เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ(competency)อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ  น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กร
.....การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาคเรียนที่ 2/2554 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ ดังนี้

ระดับความซื่อสัตย์
1. ระดับตำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก
     . ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากจวามจริงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความาเข้าใจผิด
     . หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบ
     . ปฏิเสธ/ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
     . ละเมิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์อยู่เสมอ
2. ระดับตำกว่ามาตรฐาน
     . ดูแลและรักษาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นบางครั้ง
     . ตักเตือนหรือแจ้งผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎเท่าที่จำเป็น
     . ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วนร่วมเป็นบางครั้ง
3. ระดับมาตรฐานที่กำหนด
     . รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย
     . ดูและและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของส่วนรวมอยู่เสมอ
     . ไม่นำทรัพย์สินของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
     . ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎอยู่เสมอ
4. สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด
     . ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้น
     . ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์
     . ตักเตอืนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎ
     . ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
5. สูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด
     . แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎ
     . ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการทำงาน
     . นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อใกรทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ชีวจริยธรรม

 

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
       ชื่อสามัญ หมายถึง ชื่อที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม

       ชื่อวิทยาศาสตร์(SCIENTIFIC NAME) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ใช้เป็นหลักสากลเดียวกัน การเขียนหรือพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์ ต้องให้แตกต่างจากข้อความทั่วไป โดยอาจพิมพ์ด้วยตัวเอง หรือ ขีดเส้นใต้ทั้งสองคำแยกจากกันคำนำหน้าเป็นชื่อจีนัส ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ คำหลังขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็กเป็นชื่อเฉพาะ ซึ่งอาจแสดงรูปพรรณสัญฐาน หรือที่มาเช่น Homo sapiens หรือ Taenia solium เป็นต้น

การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
       เรียงลำดับจากกลุ่มใหญ่ไปยังกลุ่มย่อยคือ
       สปีชีส์ หมายถึง หน่วยย่อยที่สุดในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน จะมีโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ เหมือนกันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทางบรรพบุรุษ และ ที่สำคัญที่สุด คือ สามารถผสมพันธุ์กันได้ และลูกที่ได้จะต้องไม่เป็นหมัน

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
       วิทเทเคอร์ (R.H. WHITAKER) จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 อาณาจักร คือ อาณาจักรสัตว์ อาณาจักรพืช อาณาฟังไจ อาณาจักรโปรติสตา และ อาณาจักรโมเนอรา

อาณาจักรสัตว์ (KINGDOM ANIMALIA)
       สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง และมีระยะตัวอ่อน (EMBRYO) สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์แบ่งออกเป็นไฟลัมต่างๆดังนี้
1.     ไฟลัมพอริเฟอรา(PHYLUM PORIFERA)
สัตว์ที่ลำตัวเป็นรูพรุน ได้แก่ ฟองน้ำ

2.     ไฟลัมซีเลนเทอราตา(PHYLUM COELENTERATA)
สัตว์ที่มีลำตัวกลวง ระบบประสาทเป็นแบบร่างแหประสาท(NERVE NET) ได้แก่ แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ปะการัง กัลปังหา และไฮดรา

3.     ไฟลัมแพลทิเฮลมินทิส(PHYLUM PLATYHELMINTHES)
หนอนตัวแบนเป็นสัตว์กลุ่มแรกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ได้แก่ พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด และพลานาเรีย

4.     ไฟลัมนีมาโทดา(PHYLUM NEMATODA)
หนอนตัวกลม ไม่มีปล้อง เคลื่อนที่ด้วยการเอี้ยวตัวสลับกันไปมา ได้แก่ พยาธิตัวกลมต่างๆ เช่น พยาธิไส้เดือน ไส้เดือนฝอย และหนอนในน้ำส้มสายชู

5.     ไฟลัมแอนนิลิดา (PHYLUM ANNILIDA)
หนอนปล้องเป็นพวกแรกที่มีระบบเลือดแบบปิด ขับถ่ายโดยเนฟริเดียม (NEPRIDIUM) ได้แก่ ไส้เดือนดิน แม่เพรียง หากดูดเลือด และปลิงน้ำจืด
6.     ไฟลัมอาร์โทรโปดา (PHYLUM ARTHROPODA)
สัตว์ที่มีขาและรยางค์อื่นๆ ต่อกันเป็นข้อๆ เป็นสัตว์กลุ่มใหญ่ที่สุดในอาณาจักรสัตว์ ได้แก่ กุ้ง กั้ง ปู แมลง เห็บ ไร ตะขาบ กิ้งกือ แมงมุม แมงดาทะเล

7.     ไฟลัมมอลลัสกา(PHYLUM MOLLUSCA)
สัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม ได้แก่ หมึกและหอยชนิดต่างๆ

8.     ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (PHYLUM ECHINODERMATA)
สัตว์ที่ผิวหนังมีหนามขุรขระ ได้แก่ ดาวทะเล เม่นทะเล เหรียญทะเล ปลิงทะเล ดาวเปราะ